geboren im März 1959 in Chiang Mai, Thailand
การเรียนภาษาเยอรมันเป็นการสร้างกุญแจที่จะไขไปสู่ความรู้อื่นๆเกี่ยวกับประเทศเยอรมนี การเรียนภาษาเยอรมันอย่างมีจุดมุ่งหมายและด้วยความสนใจ จะทำให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียน การค้นคว้าและพยายามทำความเข้าใจจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนภาษาเยอรมันได้ดียิ่งขึ้น และการที่ผู้เรียนได้นำภาษาเยอรมันไปใช้ในชีวิตประจำวัน ก็จะเพิ่มความมั่นใจในตัวเอง
จากประสบการณ์จากการสอนภาษาเยอรมันให้แก่แม่บ้าน บุตรและธิดาของคนไทยในเยอรมนี ดิฉันจึงได้รวบรวมหนังสือเรียนภาษาเยอรมันกับ”ครูต้อม”ขึ้นมา โดยใช้คำอธิบายง่ายๆพร้อมยกตัวอย่าง เพื่อที่ผู้เรียนจะสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง
ด้วยความตั้งใจ ความพยายาม ประกอบกับกำลังใจจากลูกศิษย์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ดิฉันจึงได้รวบรวมบทเรียนทั้งหมดที่ได้นำมาสอนลูกศิษย์นานกว่า 20 ปี ได้นำมาตรวจสอบ และแก้ไข อีกทั้งเพิ่มเติมคำอธิบาย ข้อแนะนำเรื่องสำคัญที่พึงรู้ เช่น วัฒนธรรมเยอรมันและคำศัพท์ที่ควรรู้ในชีวิต ประจำวันพร้อมรูปภาพ สอดแทรกไว้ในบทเรียนต่างๆ เป็นต้น เชื่อว่าน่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่างยิ่ง
เนื้อหาสาระในคู่มือเรียนภาษาเยอรมัน เล่ม 1 เป็นการปูพื้นฐานการเรียนภาษา เยอรมัน ซึ่งอาจจะถูกมองข้ามความสำคัญในบ้างเรื่องไปบ้าง เช่น การทำความรู้จักคำ ความหมายและหน้าที่ของคำต่างๆอย่างลึกซึ้ง
ในช่วงต้นๆของคู่มือฯจะเขียนคำอ่านกำกับไว้ให้ ตั้งแต่บทที่สี่เป็นต้นไป เชื่อว่า ผู้เรียนจะสามารถสะกดและอ่านคำต่างๆได้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเขียนกำกับให้แต่อย่างใด การเขียนคำอ่านนั้น ดิฉันได้ถือหลักการแปลงเสียงใกล้เคียงกับการออกเสียงเจ้าของภาษา มากที่สุด
เนื้อหาในเล่มที่ 1
บทที่ 1 ความหมายคำต่างๆ
บทที่ 2 การอ่าน การออกเสียงและการผสมคำ
บทที่ 3 คำนาม
บทที่ 4 คำสรรพนาม
บทที่ 5 คำแสดงความเป็นเจ้าของ
บทที่ 6 คำกริยาและการผันคำกริยาตามประธาน
บทที่ 7 คำบุพบท
บทที่ 8 คำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์
บทที่ 9 คำสันธาน
บทที่ 10 คำถามที่ขึ้นต้นด้วย W
เนื้อหาสาระในคู่มือเรียนภาษาเยอรมันเล่ม 2 เป็นการแนะนำการโครงสร้างของประโยคต่างๆ รวมทั้งการสังเกตหน้าที่ของคำต่างๆในประโยค ซึ่งมีรายละเอียดมากมาย (อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ) ในแต่ละบทครูต้อมได้เพิ่มแบบฝึกหัด เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ฝึกฝนและทำความเข้าใจหลักการใช้ภาษาเยอรมันอย่างง่าย ในภาคผนวกท้ายเล่มมีของแถมเล็กๆน้อย เช่น บทสนทนาสั้นๆและคำศัพท์ที่พึงรู้
เนื้อหาในเล่มที่ 2
บทที่ 1 โนมินาทีฟ(Nominativ)-ประธานของประโยค
โครงสร้างประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ และประโยคคำถาม
บทที่ 2 คำกริยา (Verben)
คำกริยาแยกได้ (trennbare Verben) คำกริยาแยกไม่ได้(untrennbare Verben) และคำกริยา Modalverben
บทที่ 3 อัคคูซาทีฟ(Akkusativ)
–กรรมตรง
กริยาที่ใช้กับอัคคูซาทีฟและโครงสร้างของประโยค
บทที่ 4 ดาทีฟ(Dativ) –
กรรมรอง
กริยาที่ใช้กับดาทีฟและโครงสร้างของประโยค
บทที่ 5 เกนิทีฟ(Genitiv)การแสดงความเป็นเจ้าของระหว่างคำนามกับคำนาม
กริยาที่ใช้กับเกนิทีฟและโครงสร้างของประโยค
บทที่ 6
การผันคำคุณศัพท์
ผันนำหน้าคำนามในหน้าที่ต่างๆ
บทที่ 7 กริยาโมดาล (Modalverben)
บทที่ 8 ประโยคหลักและประโยคขยาย(Hauptsatz und Nebensatz)
โครงสร้างของประโยคหลัก
(Satzaufbau-Hauptsatz)
โครงสร้างของประโยคขยาย(Satzaufbau-Nebensatz)
บทที่ 9 ประโยคคำสั่ง ขอร้องและเรียกร้อง(Imperativsatz)
โครงสร้างของประโยค(Satzaufbau)
และหลักสังเกตคำกริยาในประโยคคำสั่ง
บทที่ 10 กาลต่างๆ
ภาษาเยอรมันสำหรับผู้ประกอบอาชีพนวด - รู้ทันภาษาเยอรมัน เล่ม 1
Deutsch für Massageberufe
หนังสือ ”รู้ทันภาษาเยอรมัน ตอนที่1 -ภาษาเยอรมันสำหรับผู้ประกอบอาชีพนวด –“ ครูต้อมตั้งใจรวบรวมไวยากรณ์ในส่วนที่จำเป็น เช่น เรื่องของการออกเสียง กลุ่มคำต่างๆ การผันกริยา คำศัพท์เฉพาะทางและสถานการณ์ต่างๆ ที่คิดว่าสำคัญต่อผู้ประกอบอาชีพนวด
เนื้อหาในเล่ม
บทที่ 1 หลักเบื้องต้นสำหรับการพูดและการเขียนภาษาเยอรมัน
-การออกเสียง a, e, i, o, u, ä, ö, ü, au, ai, ei, eu
-การแยกพยางค์(ฝึกการออกเสียงพยัญชนะต้นและตัวสะกด)
- คำประสมและคำนาม
บทที่ 2 คำสรรพนาม
บทที่ 3 คำกริยาที่เกี่ยวกับการนวด
บทที่ 4 คำคุณศัพท์
บทที่ 5 การสร้างประโยคต่างๆ
บทที่ 6 กาลต่างๆที่ควรทำความเข้าใจ
ภาคผนวก
คำศัพท์ที่พึงรู้
- เกี่ยวกับการนวด
- ส่วนต่างๆของร่างกาย
- สมุนไพรและน้ำมันหอมระเหย
- ตัวเลขและเวลา
- คำจำกัดความต่างๆที่พึงทราบ
ตัวอย่างประโยคสำหรับการสนทนากับลูกค้า